เปิดวิธีคำนวณพร้อมดูอัตรา ‘ค่าไฟฟ้า’ ในบ้าน
เปิดวิธีคำนวณพร้อมดูอัตรา ‘ค่าไฟฟ้า’ ในบ้าน
ส่องราคาค่าไฟต่อหน่วย และวิธีการคิดคำนวณค่าไฟในแต่ละแบบ เพื่อให้คุณคิดราคาค่าไฟด้วยตัวเองได้ และสามารถวางแผนการใช้ไฟฟ้าในเดือนต่อไปให้ประหยัดมากขึ้น (หมายเหตุ: เป็นอัตราค่าไฟฟ้าเฉพาะสำหรับใช้ในบ้านอยู่อาศัยเท่านั้น)
*ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วยต่อเดือน และติดตั้งเครื่องวัดฯ ขนาดไม่เกิน 5 แอมแปร์ ได้รับการยกเว้นค่าไฟฟ้าในเดือนนั้น*
- หากใช้ไฟฟ้าไม่เกิน150 หน่วยต่อเดือน
สำหรับค่าไฟฟ้าในอัตราปกติแบบก้าวหน้า หากการใช้ไฟฟ้าในบ้านอยู่อาศัยไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน จะมีอัตราค่าไฟฟ้าในแต่ละขั้น ดังนี้
– 15 หน่วยแรก (หน่วยที่ 1-15) หน่วยละ 2.3488 บาท
– 10 หน่วยถัดไป (หน่วยที่ 16-25) หน่วยละ 2.9882 บาท
– 10 หน่วยถัดไป (หน่วยที่ 26-35) หน่วยละ 3.2405 บาท
– 65 หน่วยถัดไป (หน่วยที่ 36-100) หน่วยละ 3.6237 บาท
– 50 หน่วยถัดไป (หน่วยที่ 101-150) หน่วยละ 3.7171 บาท
- หากใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือน
สำหรับค่าไฟฟ้าในอัตราปกติแบบก้าวหน้า หากการใช้ไฟฟ้าในบ้านอยู่อาศัยเกินกว่า 150 หน่วยต่อเดือน จะมีอัตราค่าไฟฟ้าในแต่ละขั้น ดังนี้
– 150 หน่วยแรก (หน่วยที่ 1-150) หน่วยละ 3.2484 บาท
– 250 หน่วยถัดไป (หน่วยที่ 151-400) หน่วยละ 4.2218 บาท
– หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป ราคาหน่วยละ 4.4217 บาท
- ค่าไฟฟ้าอัตราตามช่วงเวลาการใช้ (TOU)
สำหรับแรงดัน 12-24 กิโลโวลต์ หากใช้ไฟฟ้าช่วง On Peak จะมีราคาหน่วยละ 5.1135 บาท ส่วนในช่วง Off Peak ราคาหน่วยละ 2.6037 บาท
สำหรับแรงดันต่ำกว่า 12 กิโลโวลต์ หากใช้ไฟฟ้าช่วง On Peak จะมีราคาหน่วยละ 5.7982 บาท ส่วนในช่วง Off Peak ราคาหน่วยละ 2.6369 บาท
- วิธีคำนวณค่าไฟฟ้าสำหรับบ้านอยู่อาศัย
ยกตัวอย่างวิธีการคิดค่าไฟฟ้าสำหรับบ้านอยู่อาศัย หากใช้ไฟฟ้า 100 หน่วย สามารถคำนวณ และคิดค่าไฟโดยแบ่งเป็น 3 ส่วนหลักๆ ดังนี้
ส่วนที่1 คิดค่าไฟฟ้าฐาน
– 15 หน่วยแรก (หน่วยที่ 1-15) หน่วยละ 2.3488 บาท แปลว่าขั้นนี้มีค่าไฟอยู่ที่ 15 x 2.3488 = 35.23 บาท
– 10 หน่วยถัดไป (หน่วยที่ 16-25) หน่วยละ 2.9882 บาท แปลว่าขั้นนี้มีค่าไฟอยู่ที่ 10 x 2.9882 = 29.88 บาท
– 10 หน่วยถัดไป (หน่วยที่ 26-35) หน่วยละ 3.2405 บาท แปลว่าขั้นนี้มีค่าไฟอยู่ที่ 10 x 3.2405 = 32.41 บาท
– 65 หน่วยถัดไป (หน่วยที่ 36-100) หน่วยละ 3.6237 บาท แปลว่าขั้นนี้มีค่าไฟอยู่ที่ 65 x 3.6237 = 235.54 บาท
รวมทั้งหมด = 333.06
มีค่าค่าบริการอีก 8.19 บาท
ดังนั้นสรุปว่าค่าไฟฟ้าฐาน (ค่าพลังงานไฟฟ้า+ค่าบริการ) จึงอยู่ที่ 341.25 บาท
ส่วนที่2 คิดค่า Ft
ค่า Ft คือ ค่าไฟฟ้าผันแปร เป็นค่าที่กำหนดขึ้นเพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนที่อยู่เหนือการควบคุมของการไฟฟ้า เช่น ค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลง, ค่าซื้อไฟฟ้า, ผลกระทบจากค่าใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐ ค่า Ft นี้จะเป็นค่าบวกหรือค่าลบก็ได้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลา โดยจะมีการปรับทุก 4 เดือนซึ่งจะถูกปรับค่าทุกๆ 4 เดือน
สำหรับช่วงนี้มีการกำหนดค่า Ft อยู่ที่ -11.60 บาท เมื่อนำค่าไฟฟ้าฐานมาหักลบกับค่า Ft ก็จะได้ดังนี้ 341.25 – 11.60 = 329.65
ส่วนที่3 ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
ค่าภาษี 7% คิดคำนวณจาก [ค่าไฟฟ้าฐาน + ค่า Ft] x [7/100] = 23.08
จากนั้นนำค่าในส่วนที่2 มาบวกกับค่าภาษี ก็จะได้ค่าไฟฟ้าที่เราต้องจ่ายจริง คือ 329.65 + 23.08 = 352.73 บาท (*หมายเหตุ: จำนวนนี้ยังไม่รวมส่วนลด 3% จากนโยบายรัฐบาล เป็นราคาประมาณการเท่านั้น) หรือถ้าอยากให้ง่ายกว่านี้ ก็สามารถเข้าไปใช้ระบบคำนวณค่าไฟฟ้าแบบออนไลน์ได้ที่ การคิดค่าไฟฟ้าประเภทต่างๆ การไฟฟ้านครหลวง และ ระบบประมาณการค่าไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
——————–
อ้างอิง: กรุงเทพธุรกิจรายวัน
https://www.mea.or.th/profile/109/111
https://www.mea.or.th/aboutelectric/116/280/form/11
https://www.pea.co.th/Portals/0/Document/attachment/Knowledge/knowft.pdf
บ้านกานดา
นโยบายคุณภาพเดียวคือ “เพื่อรอยยิ้มของครอบครัว และคนรุ่นต่อๆไป” เพื่อตอบสนองความพอใจสูงสุดของลูกค้า เพื่อคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี โดยลูกค้าเป็นผู้ที่เลือกได้
คอนเซ็ปต์บ้านของเรา